บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

บทบาทของธนาคารเพื่อการลงทุน

        1. ให้คำแนะนำ ( Advertising ) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดของหลักทรัพย์ที่จะออกจำหน่าย การตั้งราคา และการจัดเวลาที่เหมาะสมที่จำนำหลักทรัพย์นั้นออกจำหน่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้        2. การกำหนดราคาหลักทรัพย์ ( Pricing the Issue ) การกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่จะออกจำหน่ายโดยต้องให้ราคาที่กำหนดนั้นต่ำพอที่จะให้การจำหน่ายหลักทรัพย์ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกันราคาที่กำหนดจะต้องเป็นที่พอใจของบริษัทผู้ออกทรัพย์ด้วย       3. การประกันผลการขาย ( Underwriting ) เป็นการจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตัวแทนขายหลักทรัพย์ บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์อาจให้ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใดแห่งหนึ่งประกันผลการขายร่วมกัน ธนาคารเพื่อการลงทุนจะรับผิดชอบต่อการขายมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวิธีการประกันผลการขายร่วมกัน ซึ่งได้ตกลงกันไว้โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ               3.1 การประกันผลการขายแบบแน่นอน ( Firm Underwriting ) เป็นวิธีประกันผลการขายโดยที่ผู้ประกันผลการขายตกลงว่าจะรับซื้อหลักทรัพย์ตามราคาที่กำหนดทั้งหมด และจ่ายเงินให้กับบริษัทตามเวลาที่ได้ตกลงกัน               3.2 การประกันผลการขายแบบไม่ผูกพัน ( Be

แหล่งเงินทุนระยะยาว

การจัดหาเงินทุนระยะยาวแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง ได้แก่ 1. แหล่งเงินทุนภายในกิจการ ( Internal Sources) คือ เงินทุนระยะยาวที่ได้รับจากผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะมีจำนวนเงินทุนระยะยาวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินงาน แหล่งในทุนกิจการสามารถจัดหาได้จาก 3 แหล่ง คือ        1.1 กำไรสุทธิ ( Net Income) เป็นแหล่งเงินทุนที่ธุรกิจได้จากผลการดำเนินงานซึ่งมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง        1.2 กำไรสะสม ( Retained Earning) เป็นแหล่งเงินทุนที่ธุรกิจดำเนินงานและมีกำไรสุทธิเกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี ส่วนหนึ่งของกำไรสุทธินั้นต้องจัดสรรแบ่งคืนให้ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล ที่เหลือนอกนั้นจะอยู่ในบัญชีกำไรสะสมของกิจการเพื่อกิจการได้ใช้ในการลงทุนต่อหรือขยายงาน        1.3 ค่าเสื่อมราคา ( Depreciation) เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวของธุรกิจที่เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และตัดจำหน่ายเงินลงทุนในแต่ละงวด เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและรายได้ที่เกิดจากการใช้สินทรัพย์ถาวรนั้นๆ ค่าเสื่อมราคาถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เป็นเงินสด และนำไปหักออกจากภาษีเงินได้ ถือเป็นแหล่

ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการจัดหาเงินทุนระยะยาว

       การจัดหาเงินทุนระยะยาว ซึ่งโดยปกติทั่วไปมีอายุมากกว่าการจัดหาเงินทุนระยะสั้นและการจัดหาเงินทุนระยะปานกลาง ส่วนจำนวนเงินในการจัดหาค่อนข้างสูง จึงมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้การจัดหาเงินทุนระยะยาวของกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ        1. ผลกระทบต่อความมั่นคงของฐานะทางการเงินของบริษัท เช่น การเก็บกำไรสะสมเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนและไม่ยอมจ่ายเงินปันผล การกระทำดังกล่าวนี้อาจจะทำให้ราคาหุ้นสามัญในตลาดลดลงได้        2. ผลกระทบต่อการขาดรายได้ที่ควรจะได้ เช่น การลดเงินทุนในบริษัทหรือการเข้มงวดในการให้สินเชื่อเพื่อมิให้เงินจมอยู่ในบัญชีมากเพื่อให้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น อาจทำให้มีผลต่อยอดขาย คือ ไม่มีสินค้าจะขาย ทำให้ขาดรายได้        3. ผลกระทบต่อตลาดทุนในแง่ของความเสี่ยงภัย เมื่อผู้ลงทุนพิจารณาเห็นความเสี่ยงภัยของธุรกิจมีมาก อาจจะทำให้การถือหลักทรัพย์นั้นมีความไม่แน่นอน        4. ปัญหาความเสี่ยงภัยทางการเงินที่ไม่สามารถจะหาเงินมาชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้        5. การคาดคะเนโครงการลงทุนว่าจะให้ผลตอบแทนอย่างไร ก็เป็นแนวทางให้ตัดสินใจว่าจะหาเงินทุนอย่างไร และจะสู้ค่าใช้จ่ายได้เพียงใด จึง