บทบาทของธนาคารเพื่อการลงทุน

       1. ให้คำแนะนำ (Advertising) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดของหลักทรัพย์ที่จะออกจำหน่าย การตั้งราคา และการจัดเวลาที่เหมาะสมที่จำนำหลักทรัพย์นั้นออกจำหน่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
       2. การกำหนดราคาหลักทรัพย์ (Pricing the Issue) การกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่จะออกจำหน่ายโดยต้องให้ราคาที่กำหนดนั้นต่ำพอที่จะให้การจำหน่ายหลักทรัพย์ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกันราคาที่กำหนดจะต้องเป็นที่พอใจของบริษัทผู้ออกทรัพย์ด้วย
      3. การประกันผลการขาย (Underwriting) เป็นการจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตัวแทนขายหลักทรัพย์ บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์อาจให้ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งใดแห่งหนึ่งประกันผลการขายร่วมกัน ธนาคารเพื่อการลงทุนจะรับผิดชอบต่อการขายมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวิธีการประกันผลการขายร่วมกัน ซึ่งได้ตกลงกันไว้โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
              3.1 การประกันผลการขายแบบแน่นอน (Firm Underwriting) เป็นวิธีประกันผลการขายโดยที่ผู้ประกันผลการขายตกลงว่าจะรับซื้อหลักทรัพย์ตามราคาที่กำหนดทั้งหมด และจ่ายเงินให้กับบริษัทตามเวลาที่ได้ตกลงกัน
              3.2 การประกันผลการขายแบบไม่ผูกพัน (Best Effort) การประกันการขายตามวิธีนี้ผู้ประกันผลการขายจะตกลงกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ว่า จะพยายามขายหลักทรัพย์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะไม่รับผิดชอบต่อหลักทรัพย์ส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่าย
       4. การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Selling the Securities) หลังจากที่ธนาคารเพื่อการลงทุนได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายหลัก
ทรัพย์แล้ว ธนาคารเพื่อการลงทุนก็จะปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น หากนำหลักทรัพย์นั้นไปจำหน่ายตามวิธีการประมูล ธนาคารเพื่อการลงทุนก็สามารถจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ในนามของตนเอง โดยได้รับผลตอบแทนเป็นกำไรจากการขายหลักทรัพย์ หากธนาคารเพื่อการลงทุนนำหลักทรัพย์ออกจำหน่ายตามวิธีเจรจาต่อรอง ธนาคารเพื่อการลงทุนจำทำหน้าที่เพียงนายหน้าหลักทรัพย์และจะได้รับค่านายหน้าเป็นการตอบแทน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แหล่งเงินทุนระยะยาว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการจัดหาเงินทุนระยะยาว