แหล่งเงินทุนระยะยาว

การจัดหาเงินทุนระยะยาวแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง ได้แก่
1. แหล่งเงินทุนภายในกิจการ (Internal Sources) คือ เงินทุนระยะยาวที่ได้รับจากผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะมีจำนวนเงินทุนระยะยาวมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินงาน แหล่งในทุนกิจการสามารถจัดหาได้จาก 3 แหล่ง คือ
       1.1 กำไรสุทธิ (Net Income) เป็นแหล่งเงินทุนที่ธุรกิจได้จากผลการดำเนินงานซึ่งมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง
       1.2 กำไรสะสม (Retained Earning) เป็นแหล่งเงินทุนที่ธุรกิจดำเนินงานและมีกำไรสุทธิเกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี ส่วนหนึ่งของกำไรสุทธินั้นต้องจัดสรรแบ่งคืนให้ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล ที่เหลือนอกนั้นจะอยู่ในบัญชีกำไรสะสมของกิจการเพื่อกิจการได้ใช้ในการลงทุนต่อหรือขยายงาน
       1.3 ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวของธุรกิจที่เกิดจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และตัดจำหน่ายเงินลงทุนในแต่ละงวด เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและรายได้ที่เกิดจากการใช้สินทรัพย์ถาวรนั้นๆ ค่าเสื่อมราคาถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เป็นเงินสด และนำไปหักออกจากภาษีเงินได้ ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ไม่มีต้นทุนของเงินทุน

2. แหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ (External Sources) เป็นแหล่งเงินทุนที่ได้จากการก่อหนี้ระยะยาวหรือการออกหลักทรัพย์ระยะยาวจำหน่ายให้กับผู้ลงทุน หรือผู้ที่สนใจโดยทั่วไปในตลาดทุน แหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ สามารถจัดหาได้ 4 วิธี

       2.1 เงินกู้ยืมระยะยาว (Long Term Debt) เป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การกู้เงินระยะยาวมักจะออกมาในรูปของการกู้โดยมีโครงการลงทุนมาเสนอต่อธนาคารพาณิชย์ซึ่งในโครงการลงทุน จะระบุรายละเอียดต่างๆ พร้อมกับจำนวนเงินที่ต้องการและระยะเวลาในการชำระหนี้

       2.2 หุ้นสามัญ (Common Stock) การออกหุ้นสามัญเป็นการจัดหาเงินทุนระยะยาวที่สำคัญแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาการชำระคืน ผู้บริหารสามารถนำเงินทุนที่ได้นี้ไปใช้ในการดำเงินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคล่องตัวเพราะไม่ต้องรอระยะเวลาไถ่ถอน นอกจากนั้นหุ้นสามัญยังถือเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของธุรกิจอีกด้วย หุ้นสามัญมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
              2.2.1 สิทธิการเรียกร้องในรายได้ของบริษัท  เพราะผู้ถือหุ้นมีฐานะเป็นเจ้าของบริษัทดังนั้นผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในการเรียกร้องในรายได้ของบริษัทต่อจากเจ้าหน้าหนี้และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิรายได้ดังกล่าวจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญโดยตรงในรูปของเงินปันผลหรือกำไรสะสม
              2.2.2 สิทธิการเรียกร้องในทรัพย์สิน เมื่อมีการเลิกกิจการสิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญจะเกิดขึ้นต่อจากเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับการชำระแล้ว แต่ถ้าเกิดการล้มละลายของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญจะไม่มีสิทธิในการเรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทแต่อย่างใด
              2.2.3 สิทธิในการออกเสียง ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในการเลือกคณะกรรมการบริหารบริษัท และยังมีสิทธิในการพิจารณาเปลี่ยนกฎ ระเบียบต่างๆ ของบริษัทอีกด้วย
              2.2.4 จำกัดความรับผิดชอบ เมื่อเกิดการล้มละลายของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญจะรับผิดชอบเพียงเท่ากับเงินที่ลงทุนในบริษัทเท่านั้น

       2.3 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) หุ้นบุริมสิทธิมีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งเจ้าของ ลักษณะที่คล้ายหนี้สินคือ เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิซึ่งจะเป็นอัตราที่ตายตัว และถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ของบริษัท อย่างไรก็ตามในการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิก็มีการกำหนดสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิเป็นพิเศษอีกดังนี้
              2.3.1 สิทธิในการออกเสียง (Voting Right) โดยปกติแล้วผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงเพื่อเลือกผู้บริหารของบริษัท ทั้งนี้เพราะผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิ์ในสินทรัพย์หรือรายได้ของธุรกิจก่อนผู้ถือหุ้นสามัญเว้นแต่ในกรณีที่บริษัทได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถือเป็นการผิดสัญญาซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อสินทรัพย์หรือรายได้ของผู้ถือหุ้น
              2.3.2 สิทธิในการแปลงสภาพ (Convertibility) เมื่อธุรกิจมีกำไรผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลในอัตราที่คงที่ตายตัว เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจในการลงทุนของผู้ถือหุ้นประเภทที่จะสามารถได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากธุรกิจที่ทำกำไรได้สูงขึ้นเรื่อยๆด้วย ก็จะมีการกำหนดสิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ ซึ่งเรียกหุ้นนี้ว่า "หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพ" (Convertible Preferred Stock)
              2.3.3 สิทธิในการเรียกหุ้นคืน (Call Provision) ลักษณะเหมือนหุ้นกู้ คือ ธุรกิจอาจมีสิทธิเรียกคืนหุ้นได้โดยมีการกำหนดราคาเรียกหุ้นคืนไว้ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคามูลค่าส่วนที่สูงกว่านี้คือ เงินชดเชย (Premium)
              2.3.4 สิทธิอื่นๆ (Others) สิทธิของหุ้นบุริมสิทธิอื่นๆ เช่น อนุญาตในการออกเสียงในกรณีที่บริษัทไม่ยอมจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ

       ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ
              1. หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผล
              2. หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญอีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดแล้ว
              3. หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (Non – Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดเท่านั้น

       2.4 หุ้นกู้ (Debenture) ตามความหมายโดยทั่วไปเป็นตราสารทางการเงิน เพื่อการกู้ยืมเงินระยะยาว โดยระดมเงินทุนจากผู้ลงทุน เงินที่ชำระค่าหุ้น ถือเป็นเงินที่กิจการกู้ยืม ผู้ให้กู้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ย ตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด หุ้นกู้จะมีลักษณะและเงื่อนไขที่สำคัญบางประการดังนี้
              2.4.1 สิทธิการเรียกร้องในทรัพย์สินและรายได้ หุ้นกู้มีสิทธิเรียกร้องในรายได้ก่อนหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ
              2.4.2 ราคาที่ตราไว้ คือ มูลค่าตามหน้าตั๋วซึ่งจะชำระคืนให้ผู้ถือหุ้นกู้เมื่อหุ้นกู้นั้นครบกำหนดตามระยะเวลาในการไถ่ถอน โดยทั่วไปหุ้นกู้ในประเทศไทยจะต้องมีราคาที่ตราไว้ไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 100 บาท
              2.4.3 อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้บนใบหุ้นกู้นี้ แสดงเป็นร้อยละของราคาที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ซึ่งจะจ่ายในแต่ละปีในรูปอัตราดอกเบี้ย
              2.4.4 กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน
              2.4.5 คู่สัญญา คือ สัญญาระหว่างบริษัทที่ออกหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้คู่สัญญานี้จะระบุเงื่อนไขของหนี้สินหรือรายละเอียดของหุ้นกู้ สิทธิของผู้ถือหุ้น สิทธิของบริษัทออกหุ้นกู้ และความรับผิดชอบของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
              2.4.6 อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน หมายถึง อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายแต่ละปีต่อราคาตลาดหุ้น
       โดยทั่วไปหุ้นกู้แบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆดังนี้
              1. พันธบัตร (Bond) เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร พันธบัตรที่สำคัญ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธุรกิจ พันธบัตรธุรกิจมีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน

              2. หุ้นกู้ (Debenture) หุ้นกู้มีลักษณะเช่นเดียวกับพันธบัตรแตกต่างเฉพาะหลักประกัน เพราะหุ้นกู้ไม่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน

              3. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinate Debenture) คือ หุ้นกู้ที่มีสิทธิในการได้รับชำระหนี้คืนเป็นอันดับรองจากหุ้นกู้

              4. พันธบัตรจำนอง (Mortgage Bond) คือ หลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์เฉพาะอย่างตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญาการกู้ยืมเป็นหลักประกัน ซึ่งสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันจะประกอบด้วยสินทรัพย์ถาวรเป็นสำคัญ

              5. พันธบัตรหลักทรัพย์จำนำ (Collateral Trust Bond) คือ พันธบัตรประเภทที่มีหุ้นหรือพันธบัตรเป็นหลักค้ำประกัน ซึ่งหลักทรัพย์ที่มาค้ำประกันมักเป็นหลักทรัพย์ของบริษัทอื่นที่บริษัทผู้ออกพันธบัตรเป็นผู้ลงทุนไว้

              6. พันธบัตรรายได้ (Income Bond) คือ พันธบัตรประเภทที่บริษัทจะจ่ายดอกเบี้ยเฉพาะเมื่อบริษัทมีกำไรเท่านั้น

              7. พันธบัตรแปลงสภาพได้ (Convertible Bond) คือ พันธบัตรที่มีสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามอัตราที่กำหนด

              8. พันธบัตรชนิดเรียกคืนได้ (Collable Bond) คือ พันธบัตรประเภทที่ให้สิทธิแก่บริษัทผู้ออกพันธบัตร สามารถเรียกคืนก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนได้

       วิธีการจำหน่ายหุ้นให้กับประชาชน
              1. การจำหน่ายโดยธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์ (Private Placement) วิธีนี้บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เป็นผู้จำหน่ายเอง
              2. การจำหน่ายโดยผ่านตัวแทนขายหลักทรัพย์ (Public Offering) วิธีนี้บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จะจำหน่ายหลักทรัพย์ผ่านตัวแทนหรือนายหน้า ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

                     2.1 วิธีประมูล (Competitive Bidding) วิธีนี้ธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์จะประกาศให้ผู้ต้องการรับหลักทรัพย์ไปจำหน่ายมาประกวดราคา โดยธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์จะคัดเลือกผู้เสนอราคาประมูลสูงสุดเท่านั้นเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์

                     2.2 วิธีเจรจาต่อรอง (Negotiated Offering) วิธีนี้ธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์จะคัดเลือกธนาคารพาณิชย์มาเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์เอง

ความคิดเห็น

  1. ฉันมาที่นี่เพื่อแบ่งปันโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่น่าทึ่งกับพวกคุณทุกคน แพลตฟอร์มการซื้อขายของ Jose เป็นแพลตฟอร์มการลงทุนที่ลงทะเบียนและของแท้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้คุณมากถึง 7,570 ยูโรในหนึ่งสัปดาห์จากการลงทุนเริ่มต้นเพียง 700 ยูโร ฉันกำลังพิสูจน์ให้เห็นถึงโอกาสการลงทุนที่ยอดเยี่ยมนี้ สนใจลงทุนและอยากมีรายได้ประจำสัปดาห์? ติดต่อ Jose ผ่าน whats-app: +12012937434 หรืออีเมล: Josegonzales87958@gmail.com​ เพื่อเริ่มต้น...

    ตอบลบ
  2. ฉันต้องการขอบคุณคุณเวสต์วูด จาก apexloans ที่ให้เงินกู้ไม่มีหลักประกันมูลค่า 63,000 ยูโรเป็นเวลา 4 ปีแก่ฉัน หากคุณต้องการเงินกู้ที่ถูกต้องตามกฎหมายเร่งด่วนวันนี้ สมัครทางอีเมล: apexloans247@yahoo.com

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการจัดหาเงินทุนระยะยาว

บทบาทของธนาคารเพื่อการลงทุน